วันอังคารที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

การรู้ดิจิทัล (Digital Literacy)



การรู้ดิจิทัล (Digital Literacy)

1. ความหมาย ความสำคัญและผลกระทบของการรู้ดิจิทัล (Digital Literacy)


       ‘การรู้’ (Literacy) หมายถึง ความสามารถอ่านและเขียนในภาษาที่ใช้ร่วมกันของวัฒนธรรม ส่วนการรู้ดิจิทัล หมายถึง การอ่าน และ การเขียนข้อความดิจิทัล เช่น สามารถ ‘อ่าน’ เว็บไซต์ โดยผ่านการเชื่อมโยงหลายมิติ และ   ‘การเขียน’ โดยการอัปโหลดภาพถ่ายดิจิทัลเพื่อเว็บไซต์เครือข่ายสังคม ทักษะการทำงานที่จำเป็นในการดำเนินการและการสื่อสาร ด้วยเทคโนโลยีและสื่อ 
      นอกจากนี้ยังหมายถึงความรู้เกี่ยวกับ ความสำคัญของเทคโนโลยีและสื่อที่มีผลกระทบ แต่ที่สำคัญกว่านั้น คือความสามารถที่จะวิเคราะห์และประเมิน ความรู้ที่มีอยู่ในเว็บไซต์


     

        การเรียนการสอนและการเรียนรู้ ไม่สามารถตีกรอบอยู่ในกิจกรรมที่ใช้กระดาษและปากกาเท่านั้น ซึ่งหมายความว่าผู้เรียนและครูผู้สอนจำเป็นต้องรู้สึกได้ว่า เทคโนโลยีสามารถนำมาใช้ในทุกวิชา และเข้าใจว่า เทคโนโลยีดังกล่าว     ส่งผลกระทบต่อสิ่งที่รู้ในเรื่องต่างๆ เทคโนโลยีกำลังเปลี่ยนแปลงวิธีการที่เราศึกษาค้นคว้า เช่น ภูมิศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และวิทยาศาสตร์ ระบบจีพีเอส เรื่องเล่าออนไลน์ แบบจำลองทางฟิสิกส์ และการใช้ทัศนภาพ โปรแกรมการทำแผนที่อาจส่งผลกระทบต่อ การเรียนภูมิศาสตร์การศึกษาวิทยาศาสตร์อาจรับรู้วิธีการ โต้ตอบด้วยภาพ

         การรู้ดิจิทัลในรายวิชาต่างๆ ไม่จำเป็นต้องนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงการสอนอย่างสิ้นเชิง ทักษะต่างๆ ที่เป็นส่วนหนึ่งของการเป็นความรู้แบบดิจิทัลโดยเฉพาะอย่างยิ่งการตั้งคำถามที่สำคัญ ทักษะของการศึกษาที่มีประสิทธิภาพและการวิเคราะห์ความผูกพันของผู้เรียนกับเนื้อหาวิชา จะยังคงช่วยให้ครูหาวิธีการสร้างสรรค์ ที่มีประสิทธิภาพและมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตร

         การรู้ดิจิทัลมีความหมายมากกว่าทักษะด้าน เทคโนโลยีอย่างง่าย ความเข้าใจรวมถึงทักษะที่ซับซ้อน มากขึ้นขององค์ประกอบและการวิเคราะห์ ความสามารถ ในการสร้างความหลากหลายของเนื้อหาที่มีการใช้เครื่องมือ ดิจิทัลต่างๆ ทักษะและความรู้ที่จะใช้ความหลากหลาย ของการใช้งานซอฟต์แวร์สื่อดิจิทัลและอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ เช่น คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ และเทคโนโลยี อินเทอร์เน็ตความสามารถในการเข้าใจสื่อดิจิทัลเนื้อหา การใช้งานและความรู้ความสามารถในการสร้างด้วย เทคโนโลยีดิจิทัล




รู้ใช้ รู้เข้าใจ รู้สร้างสรรค์ 
เป็นคำที่แสดงลักษณะความรู้สามารถดิจิทัล
ใช้ (Use) แสดงถึงความคล่องแคล่วทางเทคนิค ที่จำเป็นในการใช้กับคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต
เข้าใจ (Understand) คือความสามารถที่จะเข้าใจบริบทที่เกี่ยวข้อง และประเมินสื่อดิจิทัล
สร้างสรรค์ (Create) ความสามารถในการสร้างเนื้อหา และมีประสิทธิภาพ โดยใช้สื่อดิจิทัล



ความสำคัญของการเรียนรู้ดิจิทัล

        เทคโนโลยีให้โอกาสในการมีส่วนร่วมในชนิดใหม่ของการเรียนรู้ ชุมชน สังคม และกิจกรรมการทำงาน ทุกคนจะต้องมีความรู้ดิจิทัลเพื่อใช้ประโยชน์สูงสุด จากโอกาสเหล่านี้ หลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าในขณะที่ เยาวชนคนหนุ่มสาว รู้สึกมั่นใจเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีนี้ ไม่ได้เป็นสิ่งบ่งบอกถึงสมรรถนะหรือความสามารถ ที่แท้จริง ในด้านทักษะการคิดวิจารณญาณ เช่น ความ ตระหนักถึงกลยุทธ์ทางการค้าหรืออคติจากสื่อต่างๆ ตลอดจนความปลอดภัยในการใช้งาน

        นอกจากนี้การเรียนรู้ดิจิทัลจะมีผลสำคัญ ต่อสังคมโดยรวม ต่อความเสมอภาคในการเข้าถึงข้อมูล การบริการและการจ้างงาน การเข้ากลุ่มทางสังคม และ โอกาสในการเรียนรู้เพิ่มเติม ตลอดจนอาจส่งผลกระทบ ต่อการขยายโอกาสทางธุรกิจ

        การพัฒนาการเรียนรู้ดิจิทัลเป็นเรื่องเกี่ยวกับ การเปลี่ยนแปลงธรรมชาติของความรู้ความเข้าใจ ครูทุกคนสามารถนำเสนอมุมมองที่แตกต่างกันในเรื่องวิธีการ ที่เทคโนโลยีสามารถเพิ่มคุณค่าในการเรียนของผู้เรียน

        นอกจากนี้ยังช่วยให้ออนไลน์อย่างปลอดภัยหากผู้เรียน มีความสามารถในการตัดสินใจที่เหมาะสมและมีข้อมูล เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีที่จะส่งผลกระทบ ต่อ การศึกษาตลอดชีวิต รวมถึงชีวิตการทำงานในอนาคต



ผลกระทบของการรู้ดิจิทัล
1) เมื่อไม่ใช้วิจารณญาณในการใช้ ก็จะทำให้เกิดปัญหาได้
2) การหาข้อมูลเป็นเรื่องที่ง่ายและสะดวกสบาย ดังนั้นจึงอาจทำให้เกิดการค้นคว้า
ข้อมูลที่เป็นเท็จ หากไม่วิเคราะห์หรือทำความเข้าใจให้ดี

3) การใช้งานที่ง่ายและสะดวกสบาย อาจทำให้ติดนิสัยแล้วไม่อยากทำอะไรที่ยุ่งยาก

2. วิเคราะห์แนวทางและวิธีการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการเรียนรู้

   อินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่าย ICT ที่เชื่อมโยง แผ่ขยายครอบคลุมทั่วโลก เป็นทั้งสิ่งแวดล้อมและ เครื่องมือสำคัญในการพัฒนาผู้เรียนให้มีศักยภาพเป็นพลโลก การประยุกต์ใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการเรียน การสอน กระทำได้สองลักษณะดังนี้

     1) แนวทางการประยุกต์ใช้อินเทอร์เน็ตในด้านของนักเรียน
          - การศึกษาค้นคว้า  เป็นเครื่องมือในการสืบค้น ศึกษาวิจัยและจัดทำรายงาน
          - กิจกรรมเชิงปฏิสัมพันธ์  กิจกรรมแบบโต้ตอบระหว่างเว็บไซต์กับผู้ใช้ เช่น บทเรียนและแบบทดสอบออนไลน์  เป็นต้น
          - โครงงานบนเว็บ  การจัดทำโครงงานในชั้นเรียนทั้งระยะสั้นและระยะยาวเผยแพร่บนอินเทอร์เน็ต
          - การสร้างสรรค์งาน  นักเรียนที่เป็นรายบุคคล เป็นกลุ่ม หรือครูที่ดำเนินการร่วมกับนักเรียนสามารถสร้างหรือ จัดทำเนื้อหาสาระเป็นเว็บไซต์เผยแพร่แก่สาธารณชนได้



    2) แนวทางการประยุกต์ใช้อินเทอร์เน็ตในด้านของครู
          - การติดต่อสื่อสาร  เพื่อการติดต่อสื่อสารกับกลุ่มครูหรือผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชาการที่ เกี่ยวกับงานในหน้าที่หรือตามความสนใจ
          - การค้นคว้าวิจัย  เป็นเครื่องมือสืบค้น ค้นคว้า วิจัย เพื่อการเตรียมการสอน การจัดหาสื่อนวัตกรรมการเรียนการสอน
          - การสร้างงาน  ครูสามารถใช้อินเทอร์เน็ตสร้างเว็บไซต์ เพื่อการจัดการเรียนการสอนของตนเอง และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เผยแพร่ผลงาน แนวคิดกับเพื่อนร่วมวิชาชีพและผู้สนใจทั่วไป

             



3. อธิบายและยกตัวอย่างแนวทางการใช้ Digital Devices in Classroom โดยการจัดทำคู่มือในการใช้ Digital Devices in Classroom กลุ่มละ 1 แนวทาง

    E-book's Chinese 
     จัดทำขึ้นเพื่อ ใช้เป็นสื่อประกอบการเรียนการสอนในรายวิชา ภาษาจีน โดยใน
 
E-book's Chinese ประกอบด้วย
       - บทเรียน มีรูปภาพ และเสียงประกอบ
                  - คำศัพท์ และพินอินประกอบ
                  - การเขียนลำดับขีด
                  - แบบฝึกหัด เช่น แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน
                         
      การใช้ E-book's Chinese
1) สำหรับผู้ที่มีอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์เคลื่อนที่ สามารถดาวน์โหลดผ่านระบบปฏิบัติการเคลื่อนที่ Android และ IOS โดยค้นหาคำว่า "E-book's Chinese"


ตัวอย่างการค้นหา ในระบบปฏิบัติการ Android
  

ตัวอย่างการค้นหา ในระบบปฏิบัติการ IOS


    2) สำหรับผู้ที่ต้องการจะดาวน์โหลดผ่าน Website สามารถดาวน์โหลดได้ที่ : http://www.ebooks.in.th/  โดยค้นหาคำว่า E-book's Chinese


ตัวอย่างการค้นหา ใน Website

           E-book เป็นหนังสืออิเล็คทรอนิคส์ที่สามารถพกติดตัวไปได้ทุกที่ อ่านเมื่อไรก็ได้ และสามารถพกได้ในจำนวนที่มาก โดยไม่หนัก และไม่เปลืองทรัพยากร เก็บรักษาได้ง่าย 
ที่สำคัญคือ E-book มีฟังก์ชั่นที่หลากหลาย ที่สามารถอ่านและฟังได้ในเวลาเดียวกัน


อ้างอิง
การเรียนรู้ดิจิทัลเทคโนโลยีโรงเรียนมาตรฐานสากล. [ม.ป.ป.]. เข้าถึงได้จาก :http://www.ppk.ac.th/newweb/digital_E-book.pdf. (ค้นหาเมื่อวันที่ พฤศจิกายน2558)
การเรียนรู้ที่เหมาะสมในยุคสารสนเทศ[ม.ป.ป.]. เข้าถึงได้จาก :http://ge.kbu.ac.th/Download9_files/img/03.pdf. (ค้นหาเมื่อวันที่ พฤศจิกายน2558)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น